ภาษีน่ารู้
ภาษีไม่ใช่แค่เรื่องของคนรวย
แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรศึกษา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีมี อยู่ 8ประเภท โดยแบ่งตามอาชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นธรรมในการคำนวณและจ่ายภาษีมากที่สุด
ภาษีควรรู้
การเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระนั้นมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะตัวซึ่งต่างกับหลายๆอาชีพ เพราะสามารถหักค่าใช้จ่ายของวิชาชีพได้เป็นจำนวนมาก หากเราเริ่มวางแผนทางการเงินให้กับตัวเองตั้งแต่ต้นปีก็ย่อมจะรู้ดีว่า จะต้องจ่ายภาษีจำนวนเท่าไหร่และมีวิธีการไหนบ้างที่จะช่วยประหยัดภาษีได้ อย่าลืมวางแผนเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออมและลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ข้อควรรู้ ในแต่ละปีพาร์ทเนอร์สามารถขอใบสรุปรายได้ (ทวิ 5.0) จาก บริษัทแกร็บประเทศไทย เพื่อนำไปยื่นรวมกับรายได้อื่นๆ หรือพาร์ทเนอร์ที่มีรายได้จากอินเซนทรีฟจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% แต่หากรายได้รวมต่อปีแล้วไม่ถึงขั้นต่ำในการเสียภาษี พาร์ทเนอร์สามารถนำรายได้จากในใบทวิ 5.0 ยื่นขอภาษีคืนได้
รายได้อะไรบ้างที่ต้องนำไปคำนวณภาษี?
1 รายได้จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ
2 รายได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม ฯลฯ
3.รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์ ฯลฯ
4.รายได้ที่เป็นดอกผลหรือผลตอบแทน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น ฯลฯ
5.รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน เช่น บ้านให้เช่า อพาร์ตเมนต์ คอนโด ที่ดิน รถเช่า ฯลฯ
6.รายได้จากอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก ผู้ตรวจสอบบัญชี และ จิตรกร
7.รายได้จากการรับเหมาพร้อมอุปกรณ์และสัมภาระ เช่น รับเหมาก่อสร้าง
8.รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น การพาณิชย์ การขนส่ง อุตสาหกรรม ขายของชำ ประมง เหมืองแร่ เลี้ยงสัตว์ หรือรายได้อื่นๆ
วิธีการคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้า
เหล่านักขับสามารถทดลองคำนวนภาษีเงินได้ของตัวคราวๆ เพื่อที่จะได้วางแผนการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้ โดยปัจจุบันมีโปรแกรมทดลองคำนวนภาษีมาให้ลองใช้กันมากมาย เช่น
โปรแกรมทดลองคำนวณภาษีรายปี
https://www.kasikornasset.com/Pages/CalTax.html
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป หลังจากที่คำนวณภาษีรายปีเรียบร้อยแล้ว สรุปว่าเราต้องเสียภาษีในปีนั้น ซึ่งทางรัฐก็มีมาตรการทางภาษีเพื่อนำมาใช้กระตุ้นการออมลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนของเงินในระบบ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราลดหย่อนภาษีรายปีมากขึ้น
8 ตัวช่วยลดหย่อนภาษี
1.การทำประกันชีวิต นอกจากจะได้รับความคุ้มครองในระยะยาว และได้ออมเงินอย่างมีวินัยแล้ว เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีอายุสัญญา 10ปีขึ้นไป สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 100,000บาท
2.การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน สลาก ธกส. เพราะดอกเบี้ยพันธบัตร สลากออมสิน สลาก ธกส. หลายรุ่น ได้รับการยกเว้นภาษีตามที่รัฐบาลกำหนด รวมทั้งดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกรษตรและสหกรณ์การเกษตรด้วย
3.การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งเพื่อนส่งเสริมการออมระยะยาวไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ โดยค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม RMF จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบนำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 100,000บาท ต่อปี
4.การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งตอนนี้ (ปี2020) รัฐบาลได้มีการยกเลิกกองทุนและได้ปรับเป็น กองทุนเปิดเพื่อการออม (SSF) เป็นกองทุนรวมที่ให้ประโยชน์ด้านภาษี คล้ายกับกองทุน RMF คือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 15% จากเดิมไม่เกิน 100,000บาท ต่อปี พอเป็นกองทุน SSF เพิ่มเป็น 200,000บาท ต่อปี อย่างไรก็ดี กองทุน SSF จะเปิดขายระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 63 เท่านั้น (ติดตามนโยบาลเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
5.การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดถือเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี รวมทั้งกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนกองทุนรวมด้วย
6.การกู้ยืมเงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ไม่ว่าจะกู้ยืมจากธนาคาร สถานบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือกองทุนสวัสดิการของนายจ้าง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถช่วยประหยัดภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 100,000บาท
7.การใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล เพราะเงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% ซึ่งบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เราต้องสียภาษี ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาระซ้ำซ้อน กฎหมายจึงให้เราเลือกว่าจะนำยอดเครดิตภาษีปันผลมาหักเป็นเครดิตภาษี หรือจะเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ก็ได้ แล้วค่อยยื่นของคือภาษีรายปี
8.การบริจาคเงินสนับสนุนการศึกษา สามารถใช้สิทธินำมาหักภาษีได้ถึง 2เท่า
นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในแต่ละปีรัฐบาลอาจจะมีนโยบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดหย่อนภาษีออกมาเช่นกัน ให้เหล่านักขับคิดตามข่าวสารและเลือกใช้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับตนเอง ตัวอย่างนโยบาลลดหย่อยภาษีที่ผ่านมา ช้อปเพื่อชาติ ท่องเที่ยวเมืองรอง ฯลฯ
การยื่นภาษีรายปี สามารถยื่นเองได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่าน เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (https://epit.rd.go.th/publish/index.php) โดยมีขั้นตอน ดังนี้
10 ขั้นตอนง่ายๆการยื่นภาษีออนไลน์
ขั้นตอนที่ 1 : ลงทะเบียนยื่นภาษี
สำหรับคนที่ไม่เคยยื่นภาษี ให้ลงทะเบียนกันก่อนและถ้าลงทะเบียนแล้วจะสามารถใช้ข้อมูลนี้ไปได้ตลอด
เลือก > ลงทะเบียน > จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ
*แนะนำให้จดบันทึกรหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้เพื่อใช้สำหรับการยื่นภาษีครั้งต่อไปด้วย
ขั้นตอนที่ 2 : เริ่มต้นยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต
หลังจากที่ลงทะเบียนเสร็จ ลงชื่อและกรอกรหัสทุกอย่างเรียบร้อย เราก็สามารถยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตได้เลย มาถึงตรงนี้ใครจะเลือกยื่นแบบทันทีหลังลงทะเบียนเสร็จ หรือจะมาเข้าสู่ระบบอีกทีหนึ่งก็ได้เหมือนกัน
ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบชื่อ นามสกุล ข้อมูลที่อยู่ให้ถูกต้อง
หลังจากเข้าสู่ระบบแล้ว เราต้องตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ต่างๆของเราให้เรียบร้อย ตรงนี้สำคัญมากสำหรับคนที่ขอคืนภาษีแบบเช็กเพราะว่าจะมีผลกับการส่งเช็คคืนภาษีได้ ถ้าตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็ไปต่อได้เลย
ขั้นตอนที่ 4 : กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว
ขั้นตอนต่อมากรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานะสมรส วันเดือนปีเกิด เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ฯลฯ สำหรับคนที่สมรส หรือคนมีคู่ ต้องเลือกด้วยว่าจะยื่นแบบอย่างไร ยื่นแยกกัน รวมกัน หรือรวมกันบางอย่าง โดยพิจารณาจากสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีว่าเลือกแบบใด ได้ประโยชน์สูงสุด
ขั้นตอนที่ 5 เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อน
ในการยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต แนะนำว่าเลือกให้ครบว่าเรามีเงินได้ประเภทไหน ตัวอย่างเช่น การยื่นภาษีของมนุษย์เงินเดือนก็ต้องเลือกข้อ มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัสฯ เป็นหลัก และตรวจสอบดูว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้างทางด้านขวา ซึ่งถ้าตรงไหนไม่เข้าใจก็สามารถกดปุ่ม ? ขึ้นมาได้จะมีรายละเอียดคำอธิบาย
ขั้นตอนที่ 6 กรอกรายได้
จากรูปตัวอย่างด้านล่างเราต้องกรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างต่างๆ โดยเอามาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งในนั้นจะมีรายละเอียดทุกอย่าง เช่น เรามีรายได้เท่าไร เงินที่จ่ายเข้าประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
เมื่อเรามีข้อมูลแล้วให้เอาตัวเลขมากรอกตามแต่ละช่อง เงินได้พึงประเมิน (รายได้ทั้งปี) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภาษีทีถูกหักไว้ทั้งปี) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) กรอกในช่องที่เขียนว่า “บันทึกจำนวนเงินที่ท่านสะสมตลอดปี” และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้จ่ายเงินได้ ครับ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้อยู่ในใบ 50 ทวิ สำหรับคนที่ออกจากงานระหว่างปี ตรงนี้ก็แนะนำให้ติดตามขอเอกสารของที่ทำงานเก่าและที่ทำงานใหม่ เสร็จแล้วก็เอายอดทั้งหมดมายื่นรวมกัน
ขั้นตอนที่ 7 บันทึกรายการค่าลดหย่อน
การยื่นภาษีจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติ จากนั้นก็บันทึกรายการค่าลดหย่อน โดยลงรายละเอียดตามหัวข้อ อย่าลืมตรวจสอบให้ครบถ้วนเพราะข้อมูลที่กรอกไปล้วนมีผลต่อการคำนวณภาษีทั้งนั้น
ขั้นตอนที่ 8 ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี
เมื่อกรอกทุกอย่างเสร็จแล้วระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้เราอัตโนมัติ หน้าที่ของเราคือตรวจสอบความถูกต้อง มีรายการไหนที่ยังไม่ได้กรอกไหมตรงนี้จะมีสิ่งทีต้องเช็คดูอยู่ 2-3 เรื่องแล้วแต่กรณี นั่นคือ
- ถ้าสรุปแล้วมีภาษีเงินคืน ระบบจะถามว่า สมัครใจจะบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองหรือไม่ ถ้าไม่ต้องการก็กดข้ามไปได้เลย
- ถ้ามีการเสียภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถเลือกผ่อนได้ 3 งวด จะจ่ายในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน สามารถเลือกผ่อนภาษีกับบัตรเครดิตได้อีกด้วย
- ถ้าใครได้ภาษีคืนและต้องการขอคืนภาษี อย่าลืมเลือกคำว่า ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี
มาถึงตรงนี้ถ้าใครเลือกขอคืนภาษีแล้วมีคำว่า “กรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ เพื่อความสะดวกในการรับเงินคืนภาษี ท่านสามารถลงทะเบียนกับธนาคารในราชอาณาจักร ทุกแห่งที่ให้บริการด้วยเลขประจำตัวประชาชน” แนะนำให้เลือกคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
ขั้นตอนที่ 9 ยืนยันการยื่นแบบ
ขั้นตอนนี้จะเข้าสู่หน้าสรุปอีกที ถ้าหากไม่ติดขัดอะไรก็กด "ยืนยัน" ไปได้เลย
ขั้นตอนที่ 10 จ่ายเงิน หรือ ตรวจสอบการคืนภาษี
ขั้นตอนสุดท้าย ถ้าหากเราต้องจ่ายชำระภาษีก็จะมีหน้าจอให้เลือกวิธีการจ่ายว่าจะจ่ายแบบไหน ทั้งธนาคารออนไลน์ ATM บัตรเครดิต จ่ายชำระที่หน่วยรับชำระ หรือวิธีอื่นๆ ที่เราสะดวกได้เลย ส่วนคนที่ได้คืนภาษีก็ให้มั่นเข้าไปตรวจสอบการคืนภาษีที่เวปไซด์กรมสรรพากร บางครั้งทางกรมสรรพากรอาจจะต้องการข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม โดยสามารถตรวจสอบสถานะคือภาษีได้ที่ >> สอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=lifeevent_tax&innerMenuId=13&groupMenuId=2