GrabDriverTH

View Original

50 ทวิ และ ภาษีเบื้องต้น สำหรับคนขับแกร็บ

📌สำหรับผู้ให้บริการที่ได้รับอินเซนทีฟ หรือของรางวัลจากกิจกรรมในรอบปี เท่านั้น

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้มีรายได้ทุกคน บทเรียนนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องราวของภาษีที่เกี่ยวข้องกับพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บกัน

See this content in the original post

See this content in the original post

50 ทวิ คือหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งบริษัทได้มีการหักเงิน 3% จาก อินเซนทีฟ และ 3-5% จากโบนัสหรือเงินรางวัลจากกิจกรรม ที่จ่ายให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ เพื่อนำไปเสียภาษีให้กรมสรรพากรตามกฎหมาย

กรณีที่พาร์ทเนอร์มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษี สามารถนำหนังสือ 50 ทวิ ไปใช้เป็นเอกสารเพื่อขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ ผ่านการยื่นภาษีประจำปี (บริษัทไม่สามารถโอนเงินคืนให้พาร์ทเนอร์โดยตรงได้)

สิ่งที่พาร์ทเนอร์ควรรู้เกี่ยวกับ 50 ทวิ

  • 50 ทวิจะแสดงข้อมูลเฉพาะรายได้จากอินเซนทีฟและโบนัสเท่านั้น ไม่รวมค่ารอบในแต่ละงาน

  • พาร์ทเนอร์ที่ไม่เคยได้รับอินเซนทีฟ จะไม่ได้รับเอกสาร 50 ทวิ (เนื่องจากไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)

  • 50 ทวิ สามารถใช้ประกอบการทำธุรกรรมได้ แต่ไม่ใช่เอกสารหลักในการแสดงรายได้ทั้งหมด


See this content in the original post

พาร์ทเนอร์สามารถดาวน์โหลดเอกสาร 50 ทวิ ได้จากอีเมลที่ลงทะเบียนกับแกร็บ

พาร์ทเนอร์จะได้รับอีเมลแจ้งให้ดาวน์โหลด 50 ทวิ ประจำปี 2566 โดยแกร็บจะทยอยส่ง ตั้งแต่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567

ถาม-ตอบข้อสงสัย

📋 ถาม: ชื่อ-สกุล ใน 50 ทวิ เป็นภาษาอังกฤษ หรือมีชื่อบริการนำหน้า เช่น (GB), (GFH), (GFC) สามารถใช้ได้ไหม
ตอบ:
สามารถใช้ได้ หากชื่อ-สกุล สะกดถูกต้องตามบัตรประชาชน และเลขบัตรประชาชนถูกต้อง

📋 ถาม: หากข้อมูลในเอกสารที่ได้รับไม่ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร
ตอบ:
พาร์ทเนอร์สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์เพื่อแจ้งแก้ไขข้อมูล และรอรับเอกสารใหม่ทางอีเมล

📋 ถาม: เอกสาร 50 ทวิ ไม่มีข้อมูลที่อยู่ ต้องทำอย่างไร
ตอบ:
พาร์ทเนอร์สามารถกรอกข้อมูลที่อยู่ตามบัตรประชาชนด้วยการพิมพ์ หรือเขียนด้วยลายมือด้วยปากกาสีดำหรือน้ำเงิน

📋 ถาม: กรณีคนขับไม่สามารถเข้าอีเมลได้ หรือลบอีเมล ต้องทำอย่างไร
ตอบ:
พาร์ทเนอร์สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์เพื่อแจ้งปัญหา


วิธีการยื่น และขอคืนภาษี

<แตะที่ภาพเพื่อเข้าสู่ Grab Academy>


See this content in the original post

ผู้มีรายได้จะต้องยื่นภาษีประจำปี ในระหว่างเดือน มกราคม- มีนาคม ของปีถัดไป
(ยื่นภาษีประจำปี 2566 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2567)

อ้างอิง: https://www.rd.go.th/558.html


See this content in the original post

กรมสรรพากรเปิดช่องทางการยื่นภาษีไว้ 3 ช่องทาง ได้แก่

  1. สำนักงานสรรพากร ทุกสาขา

  2. ไปรษณีย์ลงทะเบียน (เฉพาะผู้มีภูมิลำเนาอยู่ กทม.)

  3. ระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/rd-cms/


See this content in the original post

ผู้มีรายได้จะต้องเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยคิดจากรายได้รวมทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จาก เงินเดือน, การค้าขาย, การรับจ้าง รวมถึงอินเซนทีฟจากการขับแกร็บ

นำรายได้รวมทั้งหมดหักลบด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ หากผลลัพธ์ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี และสามารถยื่นเอกสารทวิ 50 เพื่อขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้


See this content in the original post

อ้างอิง: https://www.rd.go.th/557.html