GrabDriverTH

View Original

การออมเงิน

เปลี่ยนจาก “ใช้จ่ายก่อน... เหลือเท่าไหร่ค่อยออม” 
เป็น “ออมก่อน... เหลือเท่าไหร่ค่อยใช้”


See this content in the original post

See this content in the original post

หลังจากที่เราเริ่มรู้จักการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สิ่งต่อมาที่ควรทำ คือ การออม การแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้จะช่วยให้พาร์ทเนอร์มีเงินก้อนไว้ใช้ ไม่ว่าจะสำหรับยามฉุกเฉิน ยามเกษียณ แผนการในอนาคต หรือการลงทุน หากไม่อยากรู้สึกว่าการออมเป็นภาระจนเกินไป ลองเริ่มเดือนละ 10% ของรายได้ก่อน มีสิ่งหนึ่งที่เราอยากแนะนำและคุณควรทำเป็นอย่างยิ่ง คือ “แยกบัญชีเงินออมออกจากบัญชีทั่วไป” ไม่ควรนำเงินทั้งหมดมากองรวมไว้ในบัญชีเดียวกัน ก็เพราะธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน เมื่อมีเงินอยู่ในมือ ก็มักจะมีเรื่องให้ใช้จ่ายได้ตลอดเวลา หากใช้เพลิน ใช้แล้วยังเห็นว่ามีเงินเหลืออยู่ ก็จะใช้อีก สุดท้ายก็หมด

4 ประเภทเงินออมเพื่อเป้าหมายของชีวิต

1.บัญชีฉุกเฉิน
เงินก้อนนี้เก็บไว้สำหรับเรื่องราวไม่คาดฝันต่างๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือตกงานกะทันหัน คุณควรมีเงินก้อนนี้ติดบัญชีไว้บ้างสัก 6 เท่าของค่าใช้จ่าย อย่างน้อยหากเข้าตาจน เงินก้อนนี้ก็น่าจะพอเยียวยาชีวิตคุณได้บ้าง
2.บัญชีเงินออม: ระยะสั้นถึงระยะกลาง
ถ้าคุณตั้งใจจะเก็บเงินสักก้อนไว้ดาวน์บ้าน ดาวน์รถ ท่องเที่ยว หรือเก็บเงินไว้เป็นสินสอดทองหมั้นเพื่อแต่งงานกับคนรัก ก็ควรจะเจียดเงินออมส่วนหนึ่งมาเข้าบัญชีนี้ เพื่อเป็นบันไดให้คุณก้าวเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นใจ
3.บัญชีเงินออม: ระยะยาว
เป็นบัญชีเงินออมเพื่ออนาคตที่คุณควรเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ หรือไม่ก็เป็นค่าเล่าเรียนของลูกยามที่เขาเติบโต เงินก้อนนี้ต้องใช้ความตั้งใจและวินัยในการออมสูง จึงต้องกันเงินไว้ทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ... เมื่อใส่เงินเข้าไปในบัญชีนี้แล้ว “จงลืมมัน” คิดเสียว่าเป็นตายร้ายดี ก็จะไม่ยอมถอนเงินก้อนนี้ไปใช้เด็ดขาด
4.บัญชีเพื่อการลงทุน
หากชีวิตนี้คุณเคยแต่ฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียว ลองเปิดหูเปิดตาให้กว้างไกล แล้วแบ่งเงินมาเข้าบัญชีนี้ดูบ้าง วันละนิดวันละหน่อยก็ยังดี เมื่อมีเงินเป็นกอบเป็นกำ ค่อยถอนไปลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อให้เงินทำงาน สร้างเงินให้กับเรา

See this content in the original post

See this content in the original post

การออมเงินสามารถไว้ในรูปแบบที่มีสภาพคล่อง สามารถถอนเงินออกมาใช้เมื่อใดก็ได้ เช่น บัญชีออมทรัพย์ แต่หากต้องการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณ หรือเพื่อแผนการในอนาคตอาจเลือกฝากเงินไว้ใน บัญชีฝากประจำรายเดือน แบบปลอดภาษีในระยะเวลาที่ต้องการ การออมในรูปแบบนี้จะช่วยฝึกวินัยทางการเงินที่ดีให้กับพาร์ทเนอร์ เนื่องจากจะต้องฝากเงินเป็นประจำทุกเดือน และจะไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดได้

โดยสามารถศึกษาข้อมูลบัญชีเงินฝากประจำจากธนาคาร โดยเลือกบัญชีที่มีระยะเวลาฝากประจำใกล้เคียงกับระยะเวลาที่พาร์ทเนอร์ต้องการออมมากที่สุด สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการออมระยะสั้น-กลาง แกร็บขอแนะนำ บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์แบบปลอดภาษีจากธนาคารกสิกรไทย ที่มีระยะเวลาฝาก 24 เดือน โดยกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ที่ 500 บาท และต้องฝากเป็นจำนวนที่เท่ากันทุกเดือนตลอดระยะเวลาฝากที่กำหนด ส่วนผลตอบแทนที่พาร์ทเนอร์จะได้รับคืออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 2.25% ต่อปี

รายละเอียดบัญชี

  • ฝากเท่ากันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนเงินเท่ากับที่เปิดบัญชีครั้งแรก โดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการฝาก

  • ขาดการฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการฝาก

  • หากขาดการฝากตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ธนาคารจะไม่รับฝากเงินฝากทวีทรัพย์ในงวดที่เหลือต่อไป และจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคาร และหักภาษี ณ ที่จ่าย

  • มีสิทธิ์ขอยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประเภทนี้ได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น

การเปิดบัญชี

ตารางการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์บัญชี

รายละเอียด
-เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยนำฝากในจำนวนเท่ากันทุกเดือน ติดต่อกัน 24 เดือน

คุณสมบัติ
- บุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- บิดาหรือมารดาสามารถเปิดบัญชีเพื่อบุตรผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=wealth_saving&innerMenuId=1


นอกจากนี้ เงินฝากประจำปลอดภาษีจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ที่ 1,000 บาท และต้องฝากเป็นจำนวนที่เท่ากันทุกเดือนตลอดระยะเวลาฝากที่กำหนด โดยได้รับอัตราดอกเบี้ย 1.30% สำหรับเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน

รายละเอียดบัญชี

  • ง่ายๆ แค่ฝากเงินจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่เปิดบัญชีเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 24 เดือน และ 36 เดือน สำหรับบุคคลธรรมดา

  • ผ่อนผันการขาดฝากไม่เกิน 2 งวด ตลอดระยะเวลาการฝาก

  • สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สำหรับเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน) หรือสูงสุดไม่เกิน 16,000 บาท (สำหรับเงินฝากประจำปลอดภาษี 36 เดือน)


See this content in the original post