GrabDriverTH

View Original

ปลดหนี้

รู้เท่าทันหนี้แต่ละประเภท
เพื่อไปสู่ “ชีวิตที่ปลอดหนี้” สิ่งที่ทุกคนปรารถนา


See this content in the original post

See this content in the original post

อะไรเอย ไม่หนี ไม่พร้อม ไม่จ่าย การมีหนี้สินไม่ใช่ตราบาปในชีวิต หากรู้จักวิธีสร้างเกราะป้องกันหนี้สิน ด้วยวัคซีนสร้างภูมิด้านบริหารจัดการให้เป็น เริ่มต้นเรียนรู้และเลือกใช้ประโยชน์ จากการสร้างหนี้สินที่ดี เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงโดยไม่มีหนี้สินเกินตัว
หนี้ในโลกนี้จึงมีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี” ซึ่งกุญแจสำคัญในการแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดีออกจากกันก็คือ “วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้” และ “ผลลัพธ์ที่เกิดจากการก่อหนี้” ของบุคคลนั้น

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาระหนี้ปัจจุบันของเรานั้นเป็น “หนี้ดี” หรือ “หนี้ไม่ดี”
คำตอบง่ายๆ “หนี้ดี” ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น กล่าวคือ เป็นทรัพย์สินของเราเองจำป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย
และสิ่งทีใช้สร้างรายได้ให้กับเรา เช่น รถยนต์สำหรับประกอบอาชีพ
ส่วน “หนี้ไม่ดี” คือ ภาระการใช้จ่ายที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่าไหร่ ขาดได้ไม่ถึงกับตาย แค่มาช่วยอำนวยความสะดวกเท่านั้น

มาถึงตรงนี้... ลองสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตอนนี้คุณมีหนี้อยู่หรือไม่? “ถ้ามี” จัดเป็นหนี้ประเภทใดมากกว่ากัน ระหว่างหนี้ดีกับหนี้ไม่ดี ถ้าคำตอบ คือ ไม่มีหนี้หรือมีแต่หนี้ดี ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย และทำนายได้เลยว่าคุณมีสิทธิที่จะมั่งคั่งได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณมีหนี้และเป็นหนี้ไม่ดีด้วยละก็ บอกไว้เลยว่า “ความมั่งคั่ง” กับชีวิตของคุณยังคงเป็นเพียงเส้นขนาน

See this content in the original post

See this content in the original post

ทุกวันนี้ “หนี้” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ “การมีหนี้” จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอีกต่อไป หากรู้จักควมคุมหนี้ให้พอเหมาะสม เพราะ หนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับไขมันในเส้นเลือด หากปล่อยให้มีมากเกินไป ย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ(ทางการเงิน) ของคุณเอง

เรามีลองดูกันว่า ในแต่ละเดือน เราควรชำระหนี้ประมาณเท่าไหร่จะได้ไม่เป็นภาระมาเกินไป
- หนี้บัตรเครดิต พยายามควบคุมการใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือผ่อนสินค้าให้ไม่เกิน 10-20% ของรายได้
- หนี้ผ่อนบ้าน ค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ แต่ถ้าคุณไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆ สามารถเพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50%ได้ เพราะการที่เรายิ่งผ่อนมากเท่าไหร่ หนี้ก็ยิ่งหมดเร็วเท่านั้น
- หนี้ผ่อนรถ การจะตัดสินใช้ซื้อรถ ควรดูให้อยู่ราวๆ 20% ของรายได้ อย่าลืมว่า ภาระรถยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก
- หนี้สินรวมทั้งหมด ไม่ว่าคุณจะมีหนี้สินประเภทไหนก็ตาม แต่โดยรวมแล้วไม่ควรให้เงินที่ต้องจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนเกินกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด

การเลือกบัตรเครดิต

การมีบัตรเครดิตสามารถเป็นได้ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งการสร้างหนี้ได้ง่ายที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็โหดมากเช่นกัน แต่ถ้าเรารู้จักจัดการการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด ก็จะทำให้บัตรเหล่านี้สามารถอำนวยความสะดวกให้เรา มารู้จักกับวิธีการเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดที่คุณเองก็ทำได้


1. พกและใช้แค่ใบเดียวก็เกินพอ
เลือกทำบัตรกับธนาคารที่เราสะดวกทำธุรกรรมทางการเงินหรือเลือกจากนิสัยการใช้จ่ายของเรา เช่น
- ส่วนลดพิเศษ ส่วนมากจะอยู่ที่ 5% - 20% ในการซื้อสินค้าที่ร่วมรายการ
- สะสมคะแนน เพื่อแลกรับของพิเศษหรือส่วนลดเพิ่มเติม เพื่อประหยัดในการซื้อสินค้าประจำวันหรือของที่อยากได้
- สะสมไมล์ สำหรับคนที่เดินทางบ่อยๆ ควรเลือกสะสมไมล์เพื่อประหยัดงบในการเดินทาง
- ผ่อนชำระ 0% บัตรเครดิตที่มีโปรโมชั่นผ่อนชำระเงินจะเป็นทางเลือกให้คุณได้เลือกซื้อสินค้าที่ต้องการ

แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ ก็อย่าลืมพิจารณาวันตัดยอดของบัตรเครดิตแต่ละใบ เพื่อให้การใช้บัตรเครดิตเกิดประโยชน์สูงสุดในเรื่องระยะเวลาปลอดหนี้ อย่าลืมว่าเราใช้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น หากเราใช้จ่ายเกินตัวก็ทำให้เราเกิดหนี้ก้อนโต และอาจจะกลายเป็น “หนี้ไม่ดี”

2.ถ้าไม่จำเป็นก็จ่ายเงินสด
การใช้บัตรเครดิตบางครั้งทำให้เราลืมไปว่าเราใช้จ่ายเงินไปเท่าไหร่เพราะตอนรูดเราไม่ได้เสียเงินทันทีแต่บิลจะตามมาเก็บตอนสิ้นเดือน พอเห็นบิลอีกทีกลายเป็นว่าเราใช้เงินเกินกว่าที่เราวางแผนเอาไร ทำให้เราต้องแบ่งเงินที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในเดือนถัดไปมาจ่ายบัตร จนเป็นที่มาของคำว่าใช้ เงินในอนาคต เลือกชำระผ่านบัตรเครดิตในส่วนทีวางแผนไว้แล้วดีกว่า ส่วนค่าใช้จ่ายประจำวันแนะนำให้ใช้เงินสด


การเลือกเช่า-ซื้อรถยนต์

การเลือกซื้อรถสักคันนึง เราควร ต้อง“ศึกษาหาข้อมูล” เกี่ยวกับรถในด้านต่างๆให้ดี พิจารณาอย่างถ้วนถี่เพื่อเลือกซื้อรถให้เหมาะสม ปัจจัยแรกๆ ที่ต้องคำนึงถึง เรื่องของ “การผ่อนชำระ” ก็ต้องดูความสามารถในการผ่อนชำระแต่ละเดือนที่ไม่ทำให้คุณเดือดร้อน เรื่องของการดาวน์รถโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25% เมื่อสรุปแล้วค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ อย่าลืม! การผ่อนรถควรราวๆ ไม่เกิน 20% ของรายได้ และรถยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก

การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถนั้น เป็นการคิดแบบ Flat Rate คือ คิดรวมดอกเบี้ยกับเงินต้นเข้าด้วยกัน แล้วค่อยแบ่งออกเป็นรายงวด นั่นหมายถึงว่า ยิ่งคุณเลือกระยะเวลาการกู้แบบผ่อนจ่ายนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งแบกภาระดอกเบี้ยหนักขึ้นเท่านั้น

ดอกเบี้ยผ่อนรถคิดกันอย่างไร
หลายคนต้องการซื้อรถ แต่มีเงินสดไม่เพียงพอ อาจสงสัยว่า.. ดอกเบี้ยผ่อนชำระในการซื้อรถที่เรียกกันว่า “การเช่าซื้อ” นั้น คิดกันอย่างไรเพื่อจะได้เตรียมเงินดาวน์ และดูความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเอง ซึ่งสูตรที่ใช้คิดการผ่อนรถต่อเดือนดังนี้

สมมติว่าซื้อรถใหม่ป้ายแดงขนาด 1,600ซีซี ราคา 700,000บาท และขอกู้เงินเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ 500,000บาท เป็นเวลา 5ปี เสียดอกเบี้ย 5%ต่อปี เป็นระยะเวลา 5ปี (ปีละ 12งวด รวมเป็น 60งวด)

วิธีคิด
อัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งสิ้น (5% x 5ปี) = 25%
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระคิดเป็นเงิน (500,000 x 25%) = 125,000บาท
รวมเป็นเงินที่ต้องชำระทั้งสิ้น (500,000 + 125,000) = 625,000บาท
จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือน (625,000/60) = 10,417บาท

ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อดอกเบี้ยที่ต้องชำระ คือ “อัตราดอกเบี้ย” หากอัตราดอกเบี้ยสูงจำนวนดอกเบี้ย ที่ต้องชำระก็สูง รวมระยะเวลาในการผ่อนชำระ หากคุณเลือกการผ่อนระยะยาวนานจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระ ก็จะเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วยอีกทั้งยังไม่ได้คิดแบบลดต้ยลดดอกเหมือนการผ่อนบ้าน ดังนั้นหากคุณมีแผนที่จะซื้อรถคุณควรจะวางแผนการออมเงินบางส่วนเพื่อจะได้วางเงินดาวน์รถ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงเกินไป


วางแผนให้ดีก่อนซื้อบ้าน

ใครๆ ก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะในวัยที่เริ่มสร้างหรือขยับขยายครอบครัวเพื่อลงหลักปักฐานเตรียมการสำหรับอนาคตที่มั่นคงในระยะยาว “บ้าน” ถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความอบอุ่น และความสัมพันธ์ให้แก่สมาชิกในครอบครัว และบ้านยังเป็นสินทรัพย์ราคาสูงที่ต้องใช้เงินมาก การผ่อนบ้านถือว่าเป็น “หนี้ที่ดี” เราจึงควรตรวจสอบ “ความพร้อม” ให้ถี่ถ้วนก่อน โดยมีปัจจัยดังนี้

หลักเกณฑ์การพิจราณา ความพร้อม ก่อนซื้อบ้าน

1.ความพร้อมทางด้านการเงิน เงินดาวน์ เงินผ่อนและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะเกิดขึ้น การผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ หรือ ถ้าไม่มีภาระหนี้อื่นๆ สามารถผ่อนสูงสุดไม่เกิน 50%ของรายได้
2.ราคาบ้านที่เหมาะสม คำนวนจาก รายได้ต่อปีของทั้งครอบครัว x 2.5 เช่น ครอบครัวA มีรายต่อปีรวมทั้งสามีและภรรยา เป็นจำนวนล้านบาท ราคาบ้านเหมาะสมที่ครอบครัวA จะสามารถซื้ออยู่ที่ 5ล้านบาท
3.ความพร้อมของครอบครัวที่จะลงหลักปักฐาน ต้องอ้างอิงกับหน้าที่การงานและความพร้อมของสมาชิกทุกคน คำนึงถึงทำเลที่จะซื้อและการเดินทาง เช่น อยู่ไกลจากที่ทำงาน มีโรงเรียนบริเวณใกล้เคียง มีโรงพยาบาล

เมื่อตกลงเลือกซื้อบ้านที่เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งนึงที่ต้องเรียนรู้และวางแผนให้ดี ก็คือ เงื่อนไขสินเชื่อของแต่ละธนาคาร

ศึกษาเงื่อนไขสินเชื่อของแต่ละธนาคาร

เมื่อพร้อมกู้เงินซื้อบ้านแล้วก็ควรสอบถามข้อมูลสินเชื่อบ้านจากหลายๆ ธนาคารเพื่อเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละแห่ง รวมถึงการคำนวณเงินผ่อนต่อเดือนให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของเรา เพราะว่าการคำนวณอัตรา ดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อบ้านนั้น จะคำนวณแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) หมายถึง เมื่อชำระเงินผ่อน ธนาคารจะนำไป หักลบกับเงินต้นก่อน แล้วค่อยคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือ ดังนั้นยิ่งจ่ายคืนเงินต้นมากขึ้น ดอกเบี้ยก็จะยิ่งลดลง โดยปกติธนาคารจะให้เลือกแผนผ่อนชำระหนี้แบบเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษช่วง 1 – 3 ปีแรกเพื่อเป็นการจูงใจให้ผ่อนเยอะๆ หลังจากนั้นก็จะใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงต่อไป

โปรแกรมที่ 1: อัตราดอกเบี้ยคงที่
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.5% ต่อปี
ตลอดอายุสัญญา

โปรแกรมที่ 2
ปีที่ 1 : คงที่ 1 ปีแรก 3.5%
ปีที่ 2 : MLR – 1.5%
หลังจากนั้น MLR (ตลอดอายุสัญญา)

ซึ่งอัตราดอกเบี้ยลอยตัวจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้สินเชื่อจะต้องจ่ายในอัตราที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงินนั้นๆ โดยระบุไว้ในสัญญาด้วย ซึ่งดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่มักใช้อ้างอิงคือ MLR หรือ MRR (ดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ย MLR, MRR ปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งผู้กู้แต่ละคนอาจจะได้รับอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันได้ เช่น MLR-2% หรือ MLR+1% เพราะแต่ละธนาคารมองความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยพิจารณาจากส่วนต่างระหว่าง รายได้และรายจ่าย ความสามารถในการชำระหนี้ หรือมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น

ตัวอย่างการผ่อนสินเชื่อบ้านแบบลดต้นลดดอก

ถ้าเราต้องการซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท โดยมีเงินดาว์น 10% ของราคาบ้าน เป็นเงิน 200,000 บาท และต้องการขอกู้ธนาคารอีก 1,800,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.5% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา 30 ปี หรือ 360 งวด ซึ่งธนาคารก็จะกำหนดค่างวดต่อเดือนมาให้ประมาณ เดือนละ 9,135 บาท และจะมีการคำนวณแบบลดต้นลดดอกไปเรื่อยๆ โดยมีสูตรการคิดดอกเบี้ย และเงินต้นคงเหลือแต่ละงวดดังนี้

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวด / จำนวนวันใน 1 ปี

งินต้นลดลง = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น - ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น
เงินต้นคงเหลือ (เพื่อคำนวณดอกเบี้ยงวดถัดไป) = เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน - เงินต้นลดลง

*จำนวนวันใน 1 ปี ขึ้นกับการกำหนดของสถาบันการเงินซึ่งอาจเป็น 360 วัน 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะกำหนดเป็นจำนวนใดก็ตาม สถาบันการเงินจะต้องใช้จำนวนวันเดียวกันสำหรับการคำนวณ ทั้งดอกเบี้ยจ่าย เช่น เงินฝาก และดอกเบี้ยรับ เช่น สินเชื่อ

หมายเหตุ: กำหนดให้จ่ายงวดที่ 1 ณ วันที่ทำสัญญาเงินกู้ / จำนวนวันจนถึงงวดถัดไปคือ 30 วัน / จำนวนวันใน 1 ปีคือ 365 วัน

หากเราชำระหนี้เท่ากันทุกงวดๆ ละ 9,135 บาท ไปเรื่อยๆ จะ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วเราต้องเสียดอกเบี้ยถึง 1,486,615.13 บาท หมายความว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่เราต้องจ่ายให้ธนาคารมีมูลค่า ถึง 3,286,615.13 บาท เลยทีเดียว

จะดีกว่ามั้ย หากเมื่อใดก็ตามที่เรามีความสามารถในการ ผ่อนชำระหนี้มากขึ้นจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นหรือโบนัส เราก็นำเงินส่วนนั้นมาเพิ่มยอดผ่อนชำระรายเดือนหรือโปะเป็นเงินก้อน ทุกต้นปี วิธีนี้จะช่วยให้เสียดอกเบี้ยสะสม ลดลง เพราะเงินต้นคงเหลือลดลงไปเรื่อยๆ นั่นเอง แถมยังช่วยให้ปลดหนี้ก้อนโตนี้ได้รวดเร็วทันใจอีกด้วย

See this content in the original post

See this content in the original post

ปัจจัยสำคัญของการปลดหนี้ คือ วินัยในการชำระ การปลดหนี้นั้นยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ ค่อยๆ ปลดเปลื้องไปทีละนิด จะได้สัมผัสความรู้สึกว่ายกภูเขาออกจากอกนั้นเป็นอย่างไร ใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองทำตามบัญญัติ 5 ประการสำหรับการจัดการหนี้ดังต่อไปนี้

5 วิธีวางแผนปลดหนี้

1.หยุดสร้างหนี้เพิ่ม

หนทางที่จะปลดเปลื้องหนี้ได้ ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า ไม่ว่าหนี้หน้าไหนก็อย่าได้ไปข้องแวะด้วย จะเป็นหนี้นอกหรือในระบบ จะก้อนเล็กหรือใหญ่ก็ช่าง ถ้าผ่านด่านแรกนี้ไปได้ ประตูสู่อิสรภาพทางการเงินเปิดรอคุณแล้ว

2.รัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย

หยุดสร้างหนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องรู้จักใช้จ่ายให้เป็น ควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รีดค่าใช้จ่ายที่เป็นไขมันส่วนเกินออกให้มากที่สุด เรียกว่าในพจนานุกรมของคุณต้องมีแต่คำว่า “ประหยัด” และ “มัธยัสถ์” พร้อมลบคำว่า “ฟุ้งเฟ้อ” และ “ไม่จำเป็น” ออกไปโดยเร็ว
ลองทบทวนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง พิจราณาจากสิ่งที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตมากนั้น

3.เปลี่ยนนิสัยการใช้จ่าย

ปรับเปลี่ยนนิสัยใช้จ่ายแบบเดิมๆ ใช้จ่ายกับสิ่งที่จำเป็น ถ้าอยากจะปลดหนี้ให้ไ้ด้เร็วๆ อาจจะต้องลดสิ่งที่อำนวยความสะดวกบางอย่างออกไปก่อน เมื่อสภาวะทางการเงินเรากลับสู่สภาพที่ดีแล้วก็ไม่ผิดที่ซื้อความสะดวก สบายให้ตัวเอง

4.มั่งมั่นจัดการหนี้เก่า

เมื่อหยุดสร้างหนี้แล้ว สิ่งที่คุณต้องตั้งใจอย่างมุ่งมั่น คือ การกำจัดหนี้ก้อนเก่า ถ้าหนี้ก้อนใหญ่ คุณอาจต้องตั้งสติให้มั่น หาวิธีปลดหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ถ้าเป็นหนี้นอกระบบเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็อาจต้องหาทางกู้ในระบบออกไปปลดหนี้นอกระบบก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้น้อยลง จากนั้นค่อยมาผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน

5.มีวินัยในการชำระหนี้ อย่าปล่อยให้ขึ้นบัญชีดำ

กฎเหล็กของการเป็นหนี้คือ อย่าปล่อยให้ชื่อของตัวเองหลุดไปโผล่ในบัญชีดำของสถาบันการเงินต่างๆ เด็ดขาด เพราะสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลของคุณให้กับเครดิตบูโร และ อาจจะส่งผลต่อการกู้สินเชื่อได้ในครั้งต่อไป ไม่ว่าคุณจะมีมากหรือน้อย ควรที่จะชำระหนี้ให้ตรงเวลา ถึงคราวที่ไม่มีจริงๆให้ติดต่อกับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อเจรจราต่อรองการผ่อนผัน หากธนาคารเห็นว่าคุณมีวินัยในการชำระเงินมาโดยตลอด การเจรจราต่อรองย่อมเป็นผลกว่าละเลยการชำระหนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=wealth_debt&innerMenuId=1


See this content in the original post