สีฟุตบาท บอกอะไรเราได้บ้าง ⚫️🟡🔴

ในยุคที่เราต้องเดินทางด้วยรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราอาจมีความจำเป็นที่ต้องจอดรถระหว่างทางกันบ้าง แต่ก่อนที่จะจอดเคยสงสัยกันไหมว่าสีขอบถนน หรือสีฟุตบาทหมายถึงอะไร สีไหนจอดได้ สีไหนห้ามจอด ❗️⛔️

สีขอบฟุตบาท (Curb Markings)

เป็นเครื่องหมายจราจรบนเส้นขอบทาง ในรูปแบบ “แถบสี” แสดงให้เห็นในเขตทางหลวงแบบง่าย ๆ ชัดเจน โดยผู้ใช้รถใช้ถนนจะต้องปฏิบัติตามความหมายของสีขอบฟุตบาท ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ”หยุดรถ” กับ “จอดรถ” ไม่เหมือนกัน
”หยุดรถ” คือการหยุดรถกรณีฉุกเฉิน เพื่อรับส่งผู้โดยสารชั่วคราว
”จอดรถ” คือการจอดแช่ทิ้งไว้ เช่น จอดรถลงไปกินข้าว ซื้อของ เป็นต้น 

  • สีขาวดำ ⚪️⚫️

    แถบสีขาวสลับกับสีดำ : สามารถจอดรถได้ แต่ต้องจอดชิดขอบทาง เพราะหากจอดไม่ชิดขอบทาง หรือจอดซ้อนคัน อาจถูกจับหรือเสียค่าปรับได้ โดยเราจะสามารถพบแถบขอบฟุตบาทสีขาว-สีดำ ได้ที่ ช่วงก่อนถึงวงเวียนกลับรถ หรือช่วงก่อนขึ้นสะพาน

  • สีขาวเหลือง ⚪️🟡

    แถบสีขาวสลับกับสีเหลือง : ห้ามจอดรถ ทำได้เพียงหยุดรับ - ส่งเพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนใหญ่มักพบเห็นตามป้ายรถเมล์

  • สีขาวแดง ⚪️🔴

    แถบสีขาวสลับกับสีแดง : ห้ามจอดรถ ห้ามหยุดรับ - ส่งรถทุกชนิดโดยเด็ดขาด ส่วนใหญ่เส้นสีขาวแดงมักอยู่บริเวณใกล้ทางแยก หรือบริเวณที่เสี่ยงอันตรายต่อการจอด หรือหยุดรถ

จอดรถในที่ห้ามจอดริมฟุตบาท เสียค่าปรับเท่าไหร่ ?

หากคุณจอดรถริมฟุตบาทในพื้นที่ห้ามจอด อาจจะโดนใบสั่ง ล็อคล้อ และเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท ตามความผิด พ.ร.บ.มาตร 57 และ 59 และสำหรับเจ้าของรถ ที่โดนยกรถ จะต้องมาเสียค่าเคลื่อนย้ายอีก 500 บาท พร้อมค่าดูแลรักษารถอีกวันละ 200 บาทอีกด้วย ซึ่งสามารถชำระค่าปรับได้ที่สถานีตำรวจใกล้เคียง อย่าลืมสังเกตุให้ดี ๆ ว่าฟุตบาทแต่ละแถบสีนั้นสามารถจอดได้หรือไม่ ไม่อย่างนั้นอาจเสี่ยงที่จะโดนจับ หรือโดนใบสั่งได้นั่นเอง

🚘🚫 ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน 🚫🚘

Guest User